เครื่องดื่มเกลือแร่ มีประโยชน์และโทษอย่างไร

By | 07/05/2014

ความรู้เรื่องประโยชน์และโทษของเครื่องดื่มเกลือแร่

การดื่ม เครื่องดื่มเกลือแร่ นั้นมีทั้งประโยชน์และโทษ มีประโยชน์คือ ถ้ารู้จักใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และความต้องการของร่างกาย ดื่มเพื่อ ความสดชื่นหลังออกกำลัง มีโทษคือการดื่มพร่ำเพรื่อ ดื่มไม่รู้เวลา หรือดื่มในช่วงเวลาที่สภาพร่างกายไม่ต้องการ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือความรู้ของผู้ใช้ที่จะต้องรู้จักวิธีใช้ที่เหมาะสม แต่ถ้าดื่มด้วยความรู้สึกว่ารสชาติ ดี รสชาติอร่อย ก็เป็นอีกเรื่องที่ตัดสินใจได้ง่ายตามความถูกปากของเรา

เครื่องดื่มเกลือแร่

เครื่องดื่มเกลือแร่

เครื่องดื่มเกลือแร่

เครื่องดื่มเกลือแร่

เครื่องดื่มเกลือแร่

Sport Drink

เครื่องดื่มเกลือแร่

เครื่องดื่มเกลือแร่ หรือ Sport Drinks

หลายคนอาจจะทราบดีว่า เครื่องดื่มเกลือแร่ คือ เครื่องดื่มในการชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายเสียไปในระหว่างเล่นกีฬา โดยปรุงแต่งให้มีรสชาติที่ดีและน่าดื่ม โดยส่วนมากเครื่องดื่มเกลือแร่มัก มีส่วนผสมของน้ำตาล  และส่วนประกอบของเกลือแร่ ที่ช่วยให้ร่างกายดูดซึมน้ำในร่างกายไปใช้ได้ง่ายขึ้น ประโยชน์ของการดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ สามารถแก้กระหายให้ ความสดชื่นหลังออกกำลัง เพราะใน เครื่องดื่มเกลือแร่ มี กลูโคส หรือซูโครส หรือเด็กซ์โทรสและโซเดียม โปแตสเซียม และคลอไรด์ อยู่ในสภาพอิเลคโทรไลค์ ในปริมาณที่พอเหมาะจะช่วยให้น้ำเข้าสู่เซลล์ร่างกายได้เร็วขึ้น ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับการเสียเกลือแร่ในเหงื่อตามความเข้าใจ โทษของการดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ ทำให้ฟันผุ เนื่องจากส่วนผสมของน้ำตาล และกรดต่าง ๆ ที่ผสมจะไปกัดกร่อนสารเคลือบฟัน ถ้าดื่มากเกินไปก็ไม่เหมาะสม เพราะที่จริงตามปกติได้รับเกลือแร่จากอาหารมากพออยูแล้ว ถ้าคุณรู้แล้ว ก็ควรรู้จักควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสมจะดีที่สุด

เครื่องดื่มเกลือแร่

เครื่องดื่มเกลือแร่

เครื่องดื่มเกลือแร่

เครื่องดื่มเกลือแร่

เครื่องดื่มเกลือแร่

เครื่องดื่มเกลือแร่

เครื่องดื่มเกลือแร่

เครื่องดื่มเกลือแร่

ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องดื่มประเภทเกลือแร่ออกมาหลายยี่ห้อ ในฐานะของผู้บริโภคจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทราบข้อกำหนดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 108 (พ.ศ.2530) เรื่อง เครื่องดื่มเกลือแร่ ไว้บ้าง ซึ่งในประกาศกระทรวงฉบับนี้ กำหนดให้เครื่องดื่มเกลือแร่เป็นอาหารควบคุมเฉพาะ และให้หมายความว่า เป็นเครื่องดื่มที่มีเกลือแร่เป็นส่วนประกอบหลัก ทั้งนี้รวมถึงเครื่องดื่มเกลือแร่ชนิดแห้งด้วย

สำหรับส่วนประกอบอื่น ๆ ถ้ามีก็ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ได้กำหนดไว้ เช่นเครื่องดื่มเกลือแร่ 1 ลิตร ประกอบด้วย
-โซเดียม ไม่น้อยกว่า 20 มิลลิอิควิวาเลนท์ และไม่เกิน 40 มิลลิอิควิวาเลนท์
-น้ำตาลกลูโคส ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ของน้ำหนัก หรือ ซูโครส ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 ของน้ำหนัก
-โพแทสเซียม ไม่เกิน 5 มิลลิอิควิวาเลนท์ (ถ้ามี)
-ไบคาร์บอเนตหรือซิเตรต ไม่เกิน 13 มิลลิอิควิวาเลนท์ (ถ้ามี)

หรือหากต้องการใช้เกลื่อแร่อื่น หรือน้ำตาลอื่น ให้ใช้ได้ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
นอกจากนี้การแต่งกลิ่นและรสต้องเป็นไปตามลักษณะเฉพาะของเครื่องดื่มเกลือแร่ เท่านั้น ต้องไม่มีตะกอน และน้ำที่ใช้ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำบริโภค ไม่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ ไม่มีคาเฟอีน ส่วนชนิดแห้งต้องมีความชื้นไม่เกินร้อยละ 5 ของน้ำหนัก รายละเอียดอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับดังกล่าวข้างต้น

ในปัจจุบัน เรามาถึงประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๑๙๕) พ.ศ. ๒๕๔๓ เรื่อง เครื่องดื่มเกลือแร่ ให้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสูตรส่วนประกอบทั้งชนิดและปริมาณเป็นร้อยละ ของน้ําหนักปริมาณเกลือแร่ต่อลิตรและปริมาณต่อ ๑ หน่วยบริโภคของอาหาร และส่งรายงานผล
การตรวจวิเคราะห์ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๑๙๕) พ.ศ. ๒๕๔๓ เรื่อง เครื่องดื่มเกลือแร่ พร้อมส่งฉลากอาหารจํานวน ๒ ชุด” ในข้อ ๔ ให้ผู้ผลิตหรือนําเข้าอาหาร ที่ได้รับการจดทะเบียนอาหารประเภทกาแฟ ชาสมุนไพร
และเครื่องดื่มเกลือแร่ก่อนประกาศใช้ระเบียบฉบับนี้ ดําเนินการยื่นหลักฐานแสดงรายละเอียดของอาหาร
เพิ่มเติมตามระเบียบนี้ ภายใน ๑๘๐ วัน นับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

และใน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เครื่องดื่มเกลือแร่ (ฉบับที่ ๒) ๗ เมษายน ๒๕๕๔ แก้ไขเพิ่มเติมที่ควรอ่านเอาไว้บ้าง

สิ่งสำคัญ คุณควรทราบว่า เครื่องดื่มเกลือแร่ ที่มีอยู่ในท้องตลาดนั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้าง ตรงตามที่กระทรวงระบุหรือไม่ หรือตรงกับผงเกลือแร่ ORS แค่ไหน เพื่อที่จะได้รู้ว่า ควรใช้เมื่อไร อย่างไร เพื่อประโยชน์ในการเลือกซื้อและความปลอดภัยในการบริโภค รวมทั้งผลลัพธ์ในการดื่มที่ถูกต้อง

เกลือแร่มีบทบาทและหน้าที่สำคัญใน ร่างกายหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย เป็นองค์ประกอบของ เซลล์เนื้อเยื่อและเส้นประสาท เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ ฮอร์โมน และวิตามิน นอกจากนี้ เกลือแร่ยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อในทุกอวัยวะ อาหารทั่วไปที่เป็นแหล่งของ เกลือแร่ทั้งชนิดหลักและชนิดปริมาณน้อยแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดของอาหาร ตัวอย่าง โโยเกลือแร่ที่มีความสำคัญต่อร่างกายนั้นประกอบด้วย แคลเซียม ฟอสฟอรัส ไอโอดีน เหล็ก แมกนีเซียม สังกะสี ทองแดง และโพแทสเซียม

จากความสำคัญและหน้าที่ ของเกลือแร่ จะเห็นได้ว่า เกลือแร่ มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายต้องได้ รับเพียงพอ ในแต่ละวัน เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดี และสมบูรณ์แข็งแรง

หน้าที่โดยทั่วไปของเกลือแร่
1.รักษาความสมดุลของกรดและด่างในร่างกาย
2.เป็นตัวเร่งสำหรับปฏิกิริยาทางชีว
3.เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย
4.รักษาความสมดุลของน้ำในร่างกาย
5.ช่วยในการรับ-ส่งประสาทความรู้สึก
6.ควบคุมการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อ
7.ช่วยในการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ

ข้อควรระวังก่อนดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่
คุณต้องไม่ลืมไปว่า โดยปกติในแต่ละวัน ร่างกายของเรามีโอกาสได้รับเกลือแร่ต่าง ๆ จากอาหารเพียงพออยู่แล้ว การบริโภคเกลือโซเดียมมากเกินไป อาจเป็นอันตรายได้ ปัจจุบันถึงกับมีแคมเปญลดเกลือครึ่งนึงของ รพ.รามา ออกมากระตุ้นความรู้ และเตือนภัยในการบริโภคโซเดียม(เกลือ) พร่ำเพรื่อ โดยเฉพาะในผู้ที่ป่วยโรคหัวใจ หรือโรคไต

ในการดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่นั้น เหมาะกับผู้ที่ออกกำลังกายและเสียเหงื่อมากๆ เนื่องจากการออกกำลังกายเท่านั้น ที่สำคัญเด็กและทารกไม่ควรดื่ม เพราะอาจเกิดการเสียสมดุลของเกลือแร่ในร่างกายได้ที่จริงแล้วการเสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย โดยปกติเราควรดื่มน้ำชดเชยเหงื่อที่เสียไปก็พอแล้ว โดยปกติร่างกายสามารถปรับตัวต่อการเสียเหงื่อได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้เกลือแร่ชดเชย เว้นแต่การออกกำลังกายที่หนักและต่อเนื่องนานๆ จนร่างกายขาดเกลือแร่จริงๆ จนส่งสัญญานออกมา เช่น มีอาการเป็นตะคริวเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อ คนๆนั้นก็ควรรู้ว่าร่างกายของตัวเองสูญเสียเกลือแร่ได้ง่าย ต้องรู้จักชดเชยเกลือแร่ที่สูญเสียไป

เครื่องดื่มเกลือแร่

เครื่องดื่มเกลือแร่

การแสดงฉลากของเครื่องดื่มเกลือแร่
การระบุข้อความในฉลาก จะต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง “ฉลาก” ฉบับที่ 95 (พ.ศ.2528) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับที่ 68 (พ.ศ.2525) กล่าวคือต้องแสดงวันเดือนและปีที่ผลิต, วันเดือนและปีที่หมดอายุการใช้ หรือวันเดือนปีที่อาหารยังมีคุณภาพหรือมาตรฐานดี โดยมีข้อความว่า “ผลิต” “หมดอายุ” หรือ “ควรบริโภคก่อน”กำกับไว้ด้วย และแสดง
-ส่วนประกอบต่าง ๆ
-ชื่อ-ที่ตั้งของผู้ผลิต
-มีข้อความว่า “เจือสีธรรมชาติ” หรือ “สีสังเคราะห์” ถ้ามีการใช้
-มีข้อความว่า “แต่งกลิ่นธรรมชาติ” “แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ” “แต่งรสธรรมชาติ” หรือ “แต่งรสเลียนธรรมชาติ” ถ้ามีการใช้
-มีการแสดงข้อความ “เด็กและทารกไม่ควรรับประทาน, เฉพาะผู้สูญเสียเหงื่อ-จากการออกกำลังกายเท่านั้น, ไม่ควรรับประทานเกินวันละ…” (รวมแล้วไม่เกิน 1 ลิตร)
ซึ่งข้อความนี้ตัวอักษรต้องมีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร ในกรอบสี่เหลี่ยมการสังเกตฉลากต้องดูเครื่องหมายการได้รับอนุญาตตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดไว้ว่าได้รับอนุญาตให้ใช้แล้ว (เครื่องหมาย อย.) และข้อความในฉลากต้องมีลักษณะเห็นได้ชัดเจนและอ่านได้ง่าย

จากข้อมูลที่นำมาเล่าสู่กันฟังนี้ คงได้ทราบแล้วว่า เครื่องดื่มเกลือแร่ ควรใช้เมื่อไร และกับใคร เพื่อให้ได้ประโยชน์และปลอดภัยในการบริโภค แต่เครื่องดื่มเกลือแร่ที่มีขายตามท้องตลาดก็มีมากมายหลายชนิด การรู้จักเลือกซื้อ รู้จักอ่านส่วนประกอบของเครื่องดื่มเกลือแร่ เปรียบเทียบไว้บ้าง ก็เป็นสิ่งจำเป็นเป็นกฏธรรมดาอยู่แล้วของผู้บริโภคว่าถ้าต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ ก่อนซื้อก็ควรศึกษากลั่นกรองและเปรียบเทียบ โดยดูข้อความจากฉลากว่าเป็นอย่างไร และมีข้อห้ามอะไรบ้าง ควรที่จะอ่านให้เข้าใจก่อนซื้อ หรือบริโภคเสมอครับ